National Assembly Library of Thailand

บทละคอนร้อง เรื่อง ศกุนตลา /

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ

บทละคอนร้อง เรื่อง ศกุนตลา / ศกุนตลา ของ กาลิทาสรัตนกะวี ; ฉบับภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดิศริสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนิพนธ์เป็นบทลครร้องสำหรับเล่นบนเวที (แบบลครดึกดำบรรพ์) พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. - พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2512. - 78 หน้า : ภาพประกอบ ; 23 ซม.

พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาคทาธรบดีสีหราชบาลเมือง (เทียบ อัศวรักษ์) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 1 มิถุนายน พุทธศักราช 2512. กล่าวถึงเรื่องราวความรักระหว่างนางศกุนตลา ธิดาเลี้ยงของฤษีกัณวะเป็นผู้มีความงามบริสุทธิ์ผุดผ่องกับท้าวทุษยันต์กษัตริย์ผู้มีคุณธรรม แต่ความรักของคนทั้งสองต้องพบอุปสรรค เนื่องมาจากผลคำสาปของฤษีทุรวาส หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนานแต่ด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพมารดรทั้งสองจึงได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข (ตอนที่นางไปหาท้าวทุษยันต์นางทรงครรภ์แก่ นางได้ให้กำเนิดพระโอรสทรงพระนามว่า พระภรต) -- บทพระราชนิพนธ์ นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำตัวเรื่องมาจากบทละครของกาลิทาส กวีเอกของอินเดีย อีกทั้งยังเป็นวรรณคดีอินเดียเรื่องแรกที่พระองค์ทรงนำมาเผยแพร่ในวงวรรณคดีไทย ประกอบด้วยภาษาวรรณศิลป์อันงดงามไพเราะผสานกับเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน -- นอกจากนี้แล้วตัวละครนางศกุนตลาในบทพระราชนิพนธ์นางยังเป็น 'ต้นวงศ์' ของกษัตริย์ทั้งปวง -- กระทั่งการเรียกชื่อประเทศอินเดียว่า 'แดนภารตะ-ภารตวรรษ-ภารตประเทศ' ก็สืบเนื่องมาแต่นามของ 'ท้าวภรต' โอรสของนางศกุนตลากับท้าวทุษยันต์นั่นเอง จึ่งเป็นสาเหตุให้บทพระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีความสำคัญและน่าสนใจ


คฑาธรบดีสีหราชบาลเมือง (เทียบ อัศวรักษ์), พระยา, 2428-2512


บทละครไทย
หอสมุดรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
The Secretariat of the House of Representatives 1111 Samsen Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300, THAILAND
โทรศัพท์: +66(0) 2242 5900 ต่อ 5711 โทรสาร: +66(0) 2242 5990 อีเมล: library@parliament.go.th